fbpx

Skip links

Uncategorized @th

ฟันผุจัดฟันได้มั๊ย ?

ฟันผุจัดฟันได้มั๊ย เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดนิยมของผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก บางคนสุขภาพฟันไม่ดี ฟันผุมาก ฟันเหลือง ฟันดำ ฟันหลอ จนถึงฟันหลุดและมีอาการฟันล้ม จนทำให้ไม่มีความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันเลยทำให้หลายคนไม่กล้าไปพบหมอฟันเพื่อปรึกษาเรื่องการจัดฟัน สำหรับขั้นตอนที่เพิ่มมาของผู้ป่วยที่มีอาการฟันผุมากๆ แต่อยากจัดฟัน ต้องทำการรักษาฟันเบื้องต้นก่อน เพื่อให้ฟันแข็งแรง สามารถรับเครื่องมือในการจัดฟันได้ โดยการรักษา และดูแลโรคฟันผุมีวิธีดังต่อไปนี้ ฟันผุในระยะเริ่มแรกที่มีสีขุ่นขาวเพียงทำให้ช่องปากได้รับฟลูออไรด์ประจำทุกวัน หรือใช้ฟลูออไรด์ทำเฉพาะที่ก็จะสามารถช่วยยับยั้งการลุกลาม และทำให้การผุนี้กลับคือสู่สภาพปกติได้ ชั้นเคลือบฟันมีการเปลี่ยนเป็นสีดำแต่ยังไม่เป็นรู การแปรงฟันให้สะอาดอย่าสม่ำเสมอ สามารถช่วยยับยั้ง ไม่ให้เป็นฟันผุเป็นรูผุได้ หากมีการผุลุกลามจนเป็นรู แต่ไม่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ต้องพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาด้วยการอุดฟัน ถ้าอาการฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์จะตรวจดูเนื้อฟันที่มีเหลือ หากมีพอเพียงที่จะบูรณะได้ก็จะรักษาโพรงประสาทฟัน และบูรณะฟันให้อยู่ในสภาพดีดังเดิมโดยการอุดฟัน หรือครอบฟัน แต่หากเนื้อฟันมีเหลืออยู่น้อยเกินไปก็จะรักษาโดยการถอนฟัน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและเชื้อโรคอันจะก่อให้เกิดการติดเชื้อลุกลามไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ กรณีที่วัสดุอุดฟันแตก ควรรีบรับการอุดฟันใหม่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันผุต่อ กล่าวได้ว่าผู้ที่มีฟันผุสามารถจัดฟันได้ โดยแนะนำให้รักษาส่วนที่มีปัญหาฟันผุก่อนและจึงเริ่มจัดฟันในลำดับต่อมา นอกตากฟันจะเรียงตัวสวยขึ้นแล้ว สุขภาพของฟันโดยรวมก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

คุณแม่ตั้งครรภ์จัดฟันได้หรือไม่?

ในทางการแพทย์ไม่ได้มีข้อห้ามฟันอย่างสิ้นเชิง แต่ในหญิงตั้งครรภ์ฮอร์โมนจะทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากเป็นพิเศษ ทำให้ฟันและเหงือกของผู้ที่ตั้งครรภ์อ่อนแอ มักมีเลือดออกขณะแปรงฟัน และส่งผลให้เกิดโรคเหงือกอักเสบได้ง่าย หากไม่ได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง โดยเฉพาะหากเกิดฝันผุ ก็สามารถส่งต่อเชื้อโรคสู่ทารกได้ หรือหากมีฟันคุดที่เกิดปวดรุนแรงขึ้นมาระหว่างตั้งครรภ์ก็จะเป็นปัญหาที่ส่งผลให้เกิดความเครียดและความไม่สะดวกในการทานอาหารของแม่ที่ส่งผลต่อทารก นอกจากนี้การจัดฟันมีการ x-ray หรือสแกนฟัน แม้จะมีการรายงานว่าในปัจจุบันการเอ็กซเรย์ฟันนั้นปลอดภัยสำหรับคนท้อง แต่ทันตแพทย์แนะนำว่า ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ไม่ควรโดนรังสีใดๆ เพื่อความปลอดภัยของทารก ดังนั้นหากคนไข้ตั้งครรภ์เราจึงไม่แนะนำให้จัดฟันเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นก่อนที่คุณแม่ทุกท่านจะตัดสินใจ ลองติดต่อมาที่ Line @Beforedent_th เพื่อสอบถาม และนัดตรวจเช็กกับทันตแพทย์ได้นะคะ Ref: Dr. Gouda, Beforedent Japan

7 พฤติกรรมทำลาย “ฟัน”

7 พฤติกรรมทำลาย “ฟัน” ที่คุณอาจกำลังทำโดยไม่รู้สึกตัว การดูแลฟันให้ได้ไม่ใช่แค่การแปรงฟันเช้าเย็นแค่นั้น แต่ยังมีพฤติกรรมอีกหลายอย่างที่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่เคยทราบว่าความประพฤติกลุ่มนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพฟันได้โดยที่เราไม่รู้สึกตัว 1. กัดเล็บ การกัดเล็บไม่ก็แค่ทำให้เสียบุคลิกภาพ แต่ยังเสี่ยงต่อเชื้อโรคที่ไปสู่ร่างกายผ่านแผลเล็กๆที่ซอกเล็บที่เกิดจากการกัดอีกด้วย ไม่เพียงแค่เล้บสั้นขนเปิดแผล ยังส่งผลถึงสุขภาพของฟันอีกด้วย เพราะการกัดเล็บเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ฟันสึกกร่อนได้และหากฟันสึกกร่อนมาก ๆ อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันตามมา 2. แปรงฟันแรง การรักษาความสะอาดของฟันด้วยการแปรงฟันเป็นเรื่องที่ดีที่ถูกต้อง แต่หากแปรงฟันแรงหรือแปรงฟันบ่อยมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อตัวฟัน ทำให้เกิดการสึกกร่อนตรงช่วงคอฟัน ทำให้เป็นสาเหตุของอาการเหงือกอักเสบหรือเหงือกร่นได้ 3. ใช้ฟันเปิด หรือแกะภาชนะ คุณอาจะเคยใช้ฟันฉีกซองขนม ซองพลาสติก เปิดถุง เปิดฝาขวด แกะภาชนะและผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยคิดว่าฟันแข็งแรงมากพอที่จะทนต่อการใช้งานพวกนี้ แต่อันที่จริงแล้วการใช้ฟันในทางที่ผิดแบบนี้ อาจทำให้ฟันหัก ร้าว บิ่น หรือเสียรูปได้ 4. เคี้ยวน้ำแข็ง อากาศร้อนๆในบ้านเราอาจทำให้เราต้องดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำแข็งเป็นส่วนประกอบและการกัดก้อนน้ำแข็งอมในปากก็ทำให้เย็นชื่นใจจนอาจจะหยุดไม่ได้ แต่น้ำแข็งที่มีความแข็งมาก การกัดแรงๆอาจทำให้ฟันร้าว แตก หรือบิ่นได้เช่นกัน จงอย่าประมาทเจ้าก้อนน้ำแข็งพวกนี้เด็ดขาด 5.

วิตามินบำรุงเหงือกและฟัน

วิตามิน และแร่ธาตุที่ดีต่อเหงือก และฟันมีอะไรบ้าง? การทานอาหารที่หลากหลายครบ 5 หมู่ นอกจากจะบำรุงร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ยังส่งผลต่อส่วนต่างๆของร่างกายให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หากบำรุงอย่างสม่ำเสมอก็ช่วยให้สามารถทำงานได้ดีและไม่เจ็บป่วยง่าย การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุสารอาหารก็เป็นตัวช่วยที่ดีเยี่ยมให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง โคเอนไซม์ Q10 โคเอนไซม์ Q10 เป็นแร่ธาตุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกาย เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญ ให้พลังงานแก่เซลล์เพื่อช่วยในการรักษาบาดแผล ช่วยในการย่อยอาหารและดูแลรักษากล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากอีกด้วย ช่วยลดอาการปวดฟันและลดการเลือดออกในช่องปากที่มาจากโรคเหงือก อีกทั้งยังลดการอักเสบของเหงือกและทำให้ลมหยใจหอมสดชื่นอีกด้วย ซึ่งโคเอนไซม์ Q10 นอกจากจะมีในร่างกายแล้วยังพบได้จาก เนื้อหมู เนื้อวัว ตับไก่ น้ำมันคาโนลาและน้ำมันถั่วเหลือง หรือในผักชีฝรั่งดูแลรักษากล้ามเนื้อ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสุขภาพในช่องปากอีกด้วย ช่วยลดอาการปวดฟันและลดการเลือดออกในช่องปากที่มาจากโรคเหงือก อีกทั้งยังลดการอักเสบของเหงือกและทำให้ลมหยใจหอมสดชื่นอีกด้วย ซึ่งโคเอนไซม์ Q10 นอกจากจะมีในร่างกายแล้วยังพบได้จาก เนื้อหมู เนื้อวัว ตับไก่ น้ำมันคาโนลาและน้ำมันถั่วเหลือง หรือในผักชีฝรั่ง วิตามินบี วิตามินบี วิตามินบีช่วยให้เราสามารถจัดการกับความเครียด แถมยังช่วยดูแลสุขภาพในช่องปาก

ต้องใช้ปริมาณการใช้ยาสีฟันแค่ไหนถึงจะพอดี ?

หลายๆคนคิดว่า ขณะแปรงฟันยิ่งใช้ยาสีฟันมากขึ้นเท่าใด ฟันของเราก็ยิ่งสะอาดมากขึ้นเท่านั้น แต่คงลืมไปว่า ความจริงแล้วสิ่งที่ทำความสะอาดฟันนั้นไม่ใช่ยาสีฟัน แต่เป็นแปรงสีฟัน

เลือดออกตามไรฟันบอกอะไร

เลือดออกตามไรฟันบอกอะไร ? หลายคนมีเลือดออกตามไรฟันหรือแปรงฟันแล้วเลือดออกบ่อยๆ นั่นเป็นเพราะว่าอาจจะกำลังเป็น “โรคเหงือกอักเสบ” อาการที่สังเกตเห็นได้ง่ายคือ เหงือกจะบวมแดงและมีเลือดออกขณะแปรงฟัน เนื่องจากการดูแลความสะอาดเหงือกและฟันที่อาจจะยังไม่ดีพอ ทำให้คราบแบคทีเรียบริเวณคอฟันที่อยู่ใกล้กับเหงือกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ จนปล่อยสารพิษซึ่งก่อความระคายเคืองให้แก่เนื้อเยื่อเหงือกและทำให้เหงือกอักเสบในที่สุดหากพบว่าตัวเองเป็นเหงือกอักเสบบ่อยๆ อาจต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อดูแลเป็นพิเศษหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตัวเองอย่างถูกวิธี เริ่มต้นจากการกำจัดเหล่าคราบแบคทีเรียตัวร้ายออกให้หมดด้วยวิธีง่ายๆนั่นก็คือ การแปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม เอียงแปรงทำมุม 45 องศาบนขอบเหงือก ซึ่งจะช่วยทำความสะอาดได้ตรงจุด แล้วแปรงวนเป็นวงกลมเล็กๆ อย่างแผ่วเบา จะได้ไม่เป็นการทำร้ายเหงือกให้บาดเจ็บมากกว่าเดิม ที่สำคัญ อย่าลืมทำความสะอาด “ซอกฟัน” ด้วยแปรงซอกฟันร่วมกับไหมขัดฟันด้วย เพราะถ้าเราแปรงแค่ฟันด้านนอก แล้วปล่อยให้แบคทีเรียยังซ่อนตัวอยู่ตามซอกฟัน ยังไงเหงือกก็ไม่มีทางหายอักเสบแน่นอน เหงือกเป็นอวัยวะในช่องปากที่สำคัญไม่แพ้ฟัน เพราะเหงือกเป็นตัวช่วยยึดรากฟัน คอยพยุงฟันเอาไว้ ถ้าเกิดเราทำความสะอาดไม่ดี ปล่อยให้คราบแบคทีเรียสะสมไปนานๆ พวกแบคทีเรียเหล่านั้นจะทำร้ายเหงือกของเรา แรกเริ่มอาจเป็นเพียงเหงือกอักเสบ บวมแดง นานวันเข้าก็มีโอกาสลุกลามรุนแรงกว่าเดิม จนอาจกลายเป็นโรคปริทันต์อักเสบ บอกเลยว่างานนี้ไม่ใช่เรื่องเล็ก เพราะกระดูกเบ้าฟันจะเริ่มละลายตัว ทำให้ฟันยึดเกาะได้ไม่ดีเท่าเดิม จนเกิดฟันโยก เกิดหนองบริเวณระหว่างฟันและเหงือก หรืออาจถึงขั้นสูญเสียฟันได้ ดังนั้นนอกจากดูแลฟันแล้ว การดูแลเหงือให้แข็งแรงก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน

คราบหินปูน (Teeth Tartar)

หลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยินคำแนะนำจากทันตแพทย์อยู่บ่อย ๆ ว่า “ควรมาขูดหินปูนทุก 6 หรือ 12 เดือนนะ” แล้วเราทราบกันหรือไม่ว่า หินปูนคืออะไร ทำไมเราต้องขูดหินปูน? แล้วถ้าหากเราทิ้งคราบหินปูนไว้นาน ๆ โดยไม่ขูดออกล่ะ จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับช่องปากหรือฟันของเราหรือไม่? คราบหินปูนคืออะไร? คราบหินปูนที่เกาะตามฟันของเรานั้น เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียในช่องปากทำปฏิกิริยากับโปรตีนหรือเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกฟัน ทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้เจริญเติบโตและผลิตกรดบางอย่างมาทำลายผิวเคลือบฟัน หลังจากนั้นก็จะสร้างหินปูนขึ้นมาเพื่อให้เจ้าแบคทีเรียนี้สามารถเกาะติดกับผิวฟันได้อย่างแน่นหนา ซึ่งคราบหินปูนเหล่านี้ไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการแปรงฟัน ต้องกำจัดออกด้วยเครื่องมือทันตแพทย์เท่านั้น ทำไมเราต้องขูดหินปูน? คราบหินปูนที่เกาะตามผิวฟันเรานั้น หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่กำจัดออก จะเกาะตัวหนา ทำให้สุขภาพเหงือกอ่อนแอ เกิดเป็นโรคเหงือกอักเสบได้ และอาจทำให้เกิดฟันผุ และเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพฟันด้านอื่นๆตามมาอีกด้วย เราจะป้องกันการเกิดคราบหินปูนสะสมได้อย่างไร? การป้องกันการเกิดคราบหินปูนสามารถทำได้โดยการดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาด แปรงฟันให้ถูกวิธีและแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเพื่อขจัดคราบเศษอาหารที่ติดตามร่องฟันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยลดคราบแบคทีเรียและหินปูนสะสมได้ ที่สำคัญควรพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนเพื่อทำความสะอาดช่องปากและขูดคราบหินปูนที่สะสม เพียงเท่านี้ก็จะช่วยรักษาสุขภาพปากและฟันของเราให้สะอาดแข็งแรง

การแพ้อุปกรณ์จัดฟันแบบใส

อาการแพ้อุปกรณ์จัดฟันแบบใส ในบางคนไข้บางราย อาจมีอาการแพ้อุปกรณ์จัดฟันแบบใส ซึ่งมีอาการที่หลายหลายแต่ละคนจะมีอาการไม่เหมือนกัน บางคนเป็นมาก บางคนเป็นน้อย เช่น อาการคันตามริมฝีปาก คันตามเหงือก ฟัน หรือเจ็บคอ แต่อาจมีบางรายที่มีอาการที่รุนแรง เช่น หายใจผิดปกติ มีอาการหายใจหอบเร็วและลึกหรือเจ็บหน้าอก บางครั้งอาการแพ้อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากการขาดน้ำลาย การมีปากแห้งอาจทำให้คนไข้จัดฟันเกิดการระคายเคืองบริเวณเหงือก ลิ้นหรือริมฝีปาก หากอาการแพ้ไม่รุนแรง ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีง่ายๆในการลดอาการแพ้ โดยหากเกิดจากอาการปากแห้งแนะนำทำความสะอาดอุปกรณ์จัดฟันให้บ่อยที่สุดและดื่มน้ำมากๆ เพื่อทดแทนน้ำลายที่ขาด พยายามดื่มเปล่าน้ำเพิ่มในแต่ละวัน อีกวิธีคือหมั่นเช็กช่องปากและพบทันตแพทย์เผ้นประจำ การทำความสะอาดฟันกับมืออาชีพทุกๆ 3-6 เดือน จะช่วยลดการระคายเคือง การทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญยังช่วยในการผลิตน้ำลายอีกด้วย ทั้งนี้หากมีอาการแพ้ควรหยุดใช้อุปกรณ์จัดฟันแบบใสและติดต่อทันตแพทย์หรือทีมงานที่เกี่ยวข้องโดยเร็วที่สุด

เลือกภูมิภาคของคุณ

We detected that you are in ประเทศไทย

現在地は日本。位置情報を更新